แชร์

หมอนรองกระดูกปลิ้น

1720 ผู้เข้าชม

หมอนรองกระดูกปลิ้น

สวัสดีครับทุกๆคน ช่วงนี้ทางคลินิกต้องขออภัยด้วยนะครับที่ไม่ค่อยได้ลงข้อมูลหรือบทความอะไรเท่าไหร่ เนื่องจากคนไข้เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องขอบคุณคนไข้ทุกๆคนจริงๆที่ไว้ใจคลินิกเราและเลือกเข้ามารับบริการที่คลินิกเรา วันนี้เลยมีเคสจะมาเล่าสู่กันฟังครับ

วันนี้เป็นเคสหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท (HNP) ซึ่งจากภาพจะเห็นว่ามีหมอนรองหนึ่งอันที่ไม่เหมือนอันอื่น นั่นคือหมอนรองกระดูกของข้อที่ 4ต่อ5 โดยคนไข้รายนี้เกิดการบาดเจ็บจากการไปออกกำลังท่า Deadlift เมื่อประมาณ 1 ปีก่อน โดยคิดว่าเป็นการเจ็บหลังธรรมดา มีไปพบคุณหมอแต่ก็ไม่ได้สงสัยอาการหมอนรองเลย คนไข้ก็ทานยาและพัก หลังจากนั้นอาการก็ดีขึ้น เลยกลับไปออกกำลังกายเหมือนเดิม แต่ตลอดช่วงที่ผ่านประมาณ 1 ปีก็เป็นๆหายๆ ออกกำลังกายได้ไม่เหมือนเดิม

จนสุดท้ายเข้ามารักษาที่คลินิก ด้วยอาการ "เจ็บตรงเชิงกรานมาก นั่งนานและเดินนานไม่ได้" หลังจากที่คลินิกรักษาไปซักพักหนึ่งอาการไม่ได้ดีขึ้นเท่าที่ควรจะเริ่มสงสัย อาการหมอนรอง จึงตกลงกับคนไข้ให้ไปทำ mri สรุปก็เป็นอาการหมอนรองกระดูกปลิ้นจริงๆ

ซึ่งความยากในการรักษานั้นคือ ณ ปัจจุบัน อาการของคนไข้ถูกกระตุ้นง่าย จากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการรักษาของทางคลินิกนั้นใช้เทคนิค Mckenzie เป็นหลัก เพื่อดันหมอนรองกลับเข้าไป ไม่ให้หมอนรองปลิ้นไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งอาการคนไข้ก็ดีขึ้นตามลำดับ

สิ่งที่อยากจะบอกกับทุกคนคือ อยากให้ทุกคนระวังการใช้งานหลัง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การยกของ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการที่หมอนรองกระดูกจะปลิ้น และเมื่อมีอาการแล้วก็ อยากให้รักษาอย่างเต็มที่ก่อนจะกลับไปออกกำลังกาย เพราะถ้ามีอาการหมอนรองค้างอยู่โอกาสที่หมอนรองจะปลิ้นมากขึ้นนั้นเป็นไปได้สูง ซึ่งจะทำให้การแก้ไขหรือรักษานั้นยากขึ้น และใช้เวลามากยิ่งขึ้นด้วย


ขอบคุณครับ

ยินดีบริการให้คำปรึกษา สำหรับผู้ที่มีอาการ ปวดหลัง ปวดคอบ่า ปวดไหล่ ออฟฟิศซินโดรม บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น ร้องช้ำ มือชา อื่นๆ หรือคนที่ไม่มีอาการปวดอะไรเลยแต่อยากให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดีขึ้นก็มาได้นะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sport Injury)
ในปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจในการออกกำลังกายและการเล่นกีฬามากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องการบาดเจ็บจากออกกำลังกายและเล่นกีฬาก็ยังมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วยด้วย
หินปูนในข้อไหล่
อาการไหล่ติดเนื่องจาก หินปูน ที่เอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ ร่วมกับเอ็นหัวไหล่อักเสบ และมีการเยื่อหุ้มหัวไหล่ติดตึงครับ (Calcific Tendinitis)
ผิวข้อเข่าสึกกร่อน
ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง"ผิวข้อเข่า (Cartilage Lesion)
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy